ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่รู้จักกันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์
ถือเป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน
ทั้งหลาย เนื่องจากเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
พระบรมธาตุเจดีย์อยู่ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มาก จากตำนาน
เมืองนครศรีธรรมราชและหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้สันนิษฐานว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงสร้างในเวลาที่ใกล้เคียงกับการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองโราณตำบลในเมือง อำเภอเมือง มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัดลักษณะของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงโอคว่ำหรือระฆังคว่ำ ปากของระฆังติกับพื้นกำแพงแก้ว ที่มุมกำแพงแก้วทั้ง 4 มุม มีพระบรมธาตุเจดีย์จำลองไว้ องค์เจดีย์มีความสูงวัดจากพื้นดิน ถึงยอดได้ 53.075 เมตร (บางตำราก็ว่า 77 เมตร) เส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐานยาว 22.78 เมตร
ฐานของเจดีย์เป็นรูปสีเหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกมาจากฐานรวมทั้งหมด 22 หัว ยอดพระเจดีย์หุ้มด้วยทองคำหนักประมาณ 600 กิโลกรัม ส่วนที่หุ้มทองนี้ยังมีทองรูปพรรณนานาชนิด เช่น แหวน กำไล ต่างหู ผูกแขวนไว้ด้วยเส้นลวดเป็นจำนวนมาก บนยอดสุดมีหม้อทองคำ 1 ใบ
โตขนาดเท่าฟองไข่ไก่วางไว้ ในหม้อมีปิ่นทองคำทำเป็นคันธงห้อยด้วยใบโพทอง มีดอกไม้ไหวทำด้วยกระดุมเพชร 4 ทิศ 4 ดอก ปักไว้ในหม้อ ใต้หม้อทองมีกำไลหยกวงหนึ่งรองรับอยู่ ปล้องไฉลคือ
ปล้องที่ยอดพระเจดีย์มีจำนวนทั้งสิ้น 52 ปล้อง หน้ากระดานปล้องไฉนมี "พระเวียน" คือ พระมหาสาวก 8 องค์ ประนมมือยืนเวียนเป็นทักษิณาวัตร ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระมหากัสสปะ พระสารีบุตร พระอุบาลี พระอานนท์ พระควัมปติ พระโมคคลานะ และพระราหุล การสมโภชพระบรมธาตุประจำปีที่จัดเป็นงานใหญ่มีอยู่ 3 ระยะ คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชาและวันสารทเดือนสิบเป็นงานที่มีพุทธศาสนิกชน
มารวมกันเป็นจำนวนมากทั้งชาวบ้านนครศรีธรรมราช และจากจังหวัดอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์
แห่งนี้โดยเฉพาะอีกหลายอย่าง เช่น ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน